กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน มีสาเหตุจากอะไร และวิธีการรักษาทำยังไง

กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน

กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน สามารถนำไปสู่โรคแผลในช่องปากได้ ซึ่งโรคแผลในช่องปากจะมีลักษณะอาการและความรุนแรงแตกต่างกันไป บางชนิดเป็นไม่นานก็หายบางชนิดจะเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดซ้ำใหม่บ่อย ๆ หรืออาจจะเป็นแบบแผลเรื้อรังมีอาการเจ็บมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค

แผลในช่องปากที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

สาเหตุลักษณะอาการของแผลในช่องปาก และวิธีการรักษา เป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ

  • แผลร้อนใน

พบได้กับคนทุกเพศ ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด และยังพบได้บ่อยเป็นแผลที่มีลักษณะแบบเป็น ๆ หาย ๆ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ การระคายเคือง การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะผู้หญิงช่วงมีประจำเดือน ความเครียด ความกังวล การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

สามารถพบโรคนี้ได้ในเด็กนักเรียนที่อยู่ในช่วงระยะใกล้สอบ หรือนักธุรกิจที่มีความเครียดความกังวลสูง การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน บี 12

ลักษณะของแผลจะไม่แตกต่างกัน บางทีเป็นแผลเดี่ยว ๆ หรือ 2 – 3 แผลมีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และจะเป็นอยู่ประมาณ 7 – 10 วันแผลจะหายได้เองโดยไม่มีแผลเป็นและจะเป็นใหม่ซ้ำอีกเป็นประจำ

อีกลักษณะหนึ่งจะพบเป็นแผลขนาดใหญ่ (มากกว่า 1 เซนติเมตร) แผลจะลึกกว่าแบบแรกและมีอาการเจ็บรุนแรงมากกว่าเป็นนานกว่า 2 – 3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจจะเป็นเดือน หลังจากแผลหายแล้วจะมีแผลเป็น

นอกจากนี้อาจจะเป็นแผลขนาดเล็กเหมือนกับแบบแรกแต่จะมีจำนวนมากกว่าประมาณ 10 แผลขึ้นไป แผลชนิดนี้ส่วนใหญ่พบที่บริเวณกระพุ้งแก้ม พื้นช่องปากด้านข้างลิ้น หรือใต้ลิ้นริมฝีปากด้านใน ลักษณะของแผลในระยะเริ่มแรกจะเป็นจุดแดงขึ้นมาก่อนประมาณ 1 – 2 วัน และต่อมาจะกลายเป็นแผลซึ่งจะมีอาการเจ็บมากในช่วง 2- 3วันแรก ทำให้รับประทานอาหารลำบาก หลังจากหายแล้วมีโอกาสที่จะเกิดซ้ำเป็นใหม่ได้อีก

การรักษา
ส่วนใหญ่เป็นการลดการอักเสบ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วงระยะเวลาที่เป็นสั้นลงและการเกิดเป็นซ้ำห่างออกไป ในกรณีที่เกิดจากการขาดสารอาหารพวกวิตามิน บี 12 การให้สารอาหารนี้จะช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บ จำนวนแผลระยะเวลาการหายและความถี่ของการเกิดแผลใหม่ซ้ำอีก

แนะนำบทความยอดนิยม กําจัดกลิ่นรักแร้ถาวร จากเว็บไซต์ Rattinan.com

กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน รักษายังไง

  • แผลที่เกิดจากการระคายเคือง ซึ่งเป็นแผลที่พบค่อนข้างบ่อย
    สาเหตุของการระคายเคืองหรือการกระแทก อาจเกิดจากการที่มีขอบฟันคม ฟันสึก ฟันผุมาก วัสดุอุดหลุด ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันปลอมที่ขอบไม่เรียบ รวมถึงเครื่องมือจัดฟันทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น เป็นรอยถลอก หรือเป็นแผลได้

ฟันที่ขึ้นซ้อนเกเวลากัดจะกระแทกกระพุ้งแก้มทำให้เกิดแผลได้ การเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ การแปรงฟันพลาดหรือในผู้สูงอายุพบบ่อย ๆ ว่าเคี้ยวอาหารพลาดไปกัดกระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือริมฝีปาก การใส่ฟันปลอมที่หลวมหรือไม่พอดี เคี้ยวแล้วเจ็บเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของแผลในช่องปากที่พบได้บ่อย

ลักษณะเป็นแผลเฉพาะที่ตรงบริเวณที่ได้รับการกระแทก หรือระคายเคืองมีอาการเจ็บทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก โดยเฉพาะถ้าแผลอยู่บริเวณลิ้นหรือพื้นช่องปากซึ่งมีการเคลื่อนไหว โดยปกติแผลควรจะหายภายใน 1 สัปดาห์ภายหลังที่กำจัดหรือแก้ไขสาเหตุแล้ว

การรักษาแผลชนิดนี้ทำได้โดยการกำจัดหรือแก้ไขสาเหตุอมน้ำเกลืออุ่น ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ในรายที่เป็นรุนแรงแผลมีขนาดใหญ่เจ็บมาก จำเป็นต้องใช้ยาทาเฉพาะที่ซึ่งมีส่วนผสมที่มีคุณสมบัติในการปิดแผล ไม่ให้ถูกระคายเคืองและช่วยลดการอักเสบของแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นรวมทั้งบรรเทาอาการเจ็บแผลด้วย

แผลในช่องปากมีอันตรายมากน้อยเพียงใดและมีข้อแนะนำเกี่ยวกับแผลในช่องปากอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วแผลในช่องปากสามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เพียงแต่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแสบปวดร้อน มีผลทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ ซึ่งถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม ก็จะหายได้เป็นปกติ เนื่องจากแผลในช่องปาก มีสาเหตุได้หลายประการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลที่เกิดจากการระคายเคืองเฉพาะที่ ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรจะพบทันตแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก แผลในช่องปากที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ก็คือมะเร็งในช่องปาก ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าหากได้รับการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนแผลนั้นลุกลามมากขึ้นทำให้การรักษายุ่งยาก

มะเร็งในช่องปากบางชนิด เริ่มจากการเป็นแผลจากการระคายเคือง แต่ไม่ได้รับการรักษาปล่อยไว้จนกลายเป็นเนื้อร้าย มะเร็งในระยะแรกอาจไม่มีอาการเจ็บ ทำให้ผู้ป่วยละเลย ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรจะรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย การดูแลสุขภาพในช่องปากให้ดีอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ

บทสรุป

กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน อาจนำไปสู่โรคภายในช่องปากได้หลายโรค ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการหากรักษาด้วยตัวเองได้ก็ให้รีบรักษา โดยทั่วไปแผลในช่องปากมักหายได้เองภายใน 2 – 4 สัปดาห์ แต่หากเกินไปกว่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาก่อนที่จะมีโรคร้ายตามมา