กระพุ้งแก้มเป็นตุ่ม เกิดจากสาเหตุอะไร ไปดูกันเลย!!

กระพุ้งแก้มเป็นตุ่ม

หลาย ๆ คนคงมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดยเฉพาะการติดเชื้อที่กระพุ้งแก้ม ที่บางเคสเกิดขึ้นแล้วก็มีอาการที่รุนแรงถึงขั้นกระพุ้งแก้มบวมตุ่ย มีอาการอักเสบ และทำท่าว่าจะไม่ยุบตัวลงง่าย ๆ จนอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แผลในปากเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมักพบได้บ่อยในวัยรุ่น และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แม้ว่าสาเหตุของการเกิดแผลในปากหรือแผลร้อนในจะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจกระตุ้นให้เกิดแผลในปากได้

สาเหตุ กระพุ้งแก้มเป็นตุ่ม

  1. การบาดเจ็บที่ปาก ซึ่งอาจเกิดจากการแปรงฟันแรงเกินไป การกัดปากโดยไม่ได้ตั้งใจ การทำฟัน หรือการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  2. การใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนประกอบของสารโซเดียมลอริลซัลเฟต
  3. การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 สังกะสี กรดโฟเลต และธาตุเหล็ก เป็นต้น
  4. การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ไข่ ถั่ว ชีส ช็อกโกแลต กาแฟ อาหารที่มีรสชาติเผ็ด รวมถึงผลไม้ที่มีกรดมากอย่างสับปะรด สตรอเบอร์รี่ มะนาว และส้ม เป็นต้น
  5. การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียอย่างเชื้อเอชไพโลไร
  6. โรคหรือการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคเอดส์ โรคเซลิแอคซึ่งเป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน และโรคเบเซ็ทซึ่งเป็นโรคที่เกิดการอักเสบขึ้นทั่วร่างกาย เป็นต้น
  7. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่มีประจำเดือน
  8. ตุ่มบริเวณกระพุ้งแก้ม อาจเกิดจากการมีเลือดคั่งอยู่ภายใต้เยื่อบุของ กระพุ้งแก้ม ซึ่งเกิดจากการมีอุบัติเหตุไปกัดโดนดังกล่าว หรืออาจเป็นแผลที่เกิดจากการกัดโดนและกำลังอยู่ในกระบวนการซ่อมแซมของแผล จึงทำให้คลำได้รู้สึกนูนและเจ็บได้ นอกจากนี้ อาจเกิดจากเป็นเนื้องอกชนิด irritation fibroma (focal fibrous hyperplasia หรือ epulis fissuratum) ซึ่งเป็นต่มเนื้อที่เกิดจากเยื่อบุในช่องปากถูกเสียดสีบ่อย ๆ เช่น จากฟันปลอมที่หลวม เหล็กจัดฟันที่ใส่ไม่พอดี มีฟันที่หักอยู่ หรือเป็นเนื้องอกชนิดอื่น ๆ เช่น Fordyce spot, fibroid epulis, granula cell tumor, squamous papilloma, hemangioma (เนื้องอกเส้นเลือด)
  9. หูดในช่องปาก เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus ซึ่งติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยการใช้ปาก โดยจะเห็นเป็นติ่งเนื้อนุ่ม ๆ สีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ อาจพบจุดเดียวหรือหลายจุด แต่มักไม่มีอาการเจ็บหรือปวด
  10. เป็นซีสต์ อาจเป็น odontogenic cyst ชนิดต่าง ๆ เช่น radicular cyst, calcifying odontogenic cyst, dentigerous cyst, odontogenic keratocyst, gingival cyst เป็นต้น และซีสต์ชนิดอื่น ๆ เช่น dermoid cyst, palatine cyst nasolabial cyst เป็นต้น
  11. ก้อนมะเร็ง เช่น sqaumous cell carcinoma แต่พบได้น้อยมากในคนอายุน้อย และก้อนมะเร็งมักโตเร็ว และทำให้มีอาการปวดรุนแรง

แนะนำว่าหากยังคงคลำได้เป็นตุ่มก้อนนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจค่ะ

บทความแนะนำ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก จาก Rattinan.com

กระพุ้งแก้มเป็นตุ่ม รักษายังไง

ควรทำอย่างไรเมื่อเกิดแผลในปาก

โดยทั่วไปแล้ว แผลในปากจะสามารถหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตาม อาจบรรเทาอาการของแผลในปากได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. ล้างปากโดยใช้น้ำเกลือและเบกกิ้งโซดา หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการปวดและบวม
  2. ใช้ยามิลค์ออฟแมกนีเซียบริเวณที่เกิดแผลในปาก
  3. ใช้เบกกิ้งโซดาทาบริเวณแผลในปาก
  4. ประคบน้ำแข็งบริเวณที่เป็นแผลในปาก
  5. ใช้ยาชาเฉพาะที่ที่หาซื้อได้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร อย่างยาไซโลเคน
  6. ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยควรรับประทานอาหารอ่อนและอาหารที่มีสารโภชนาการครบถ้วน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือมีรสเค็ม รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ อาหารและเครื่องดื่มที่มีกรดมาก และไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
  7. รับประทานอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิค วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  8. ใช้หลอดเมื่อต้องดื่มน้ำเย็น
  9. นำถุงชาที่ชุ่มน้ำแปะตรงบริเวณที่เป็นแผล
  10. แปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟอง โดยต้องไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียมลอริลซัลเฟต
  11. ใช้สมุนไพรบำบัดและวิธีการรักษาทางธรรมชาติ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ เอ็กไคนาเชีย มดยอบ และรากชะเอม เป็นต้น โดยศึกษาวิธีการ ปริมาณ และความปลอดภัยให้ดีก่อนเสมอ