กระพุ้งแก้มเปื่อย มีสาเหตุมาจากอะไร และรักษาอย่างไร

กระพุ้งแก้มเปื่อย

ปัญหาสุขภาพภายในช่องปากมีด้วยกันหลายอย่าง และการมีแผลภายในปากก็ใช่จะละเลยได้เสมอไป โดยเฉพาะแผลบริเวณกระพุ้งแก้ม เพราะหากปล่อยไว้จนเกิดการติดเชื้อที่กระพุ้งแก้มอาจทำให้กระพุ้งแก้มเปื่อยได้ จนทำให้แก้มบวมเป่ง อาจร้ายแรงถึงขั้นต้องรักษาโดยการผ่าตัด

สาเหตุของการติดเชื้อที่กระพุ้งแก้ม มีอะไรบ้าง

  • มีแผลในปากการมีแผลในปากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และแม้แต่การเผลอกัดกระพุ้งแก้มจนกลายเป็นแผลก็เช่นเดียวกัน หากมีแผลแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังเป็นเวลานาน เพราะอาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อและอักเสบบวมได้
  • เป็นร้อนในแผลร้อนในมักเริ่มจากการมีแผลหรือเป็นตุ่มแดงเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นตรงบริเวณริมฝีปากส่วนใน กระพุ้งแก้มหรือบริเวณลิ้น จากนั้นก็จะกลายเป็นสีขาวๆ มีขอบสีแดงนูนบวมออกมา และหากแผลร้อนในเกิดการเรื้อรังก็ย่อมติดเชื้อและอักเสบได้ ที่สำคัญยังมีอาการเจ็บแสบหรือปวดอย่างมากอีกด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สำหรับสาว ๆ ก่อนประจำเดือนจะมา หรือผู้หญิงตั้งครรภ์ก็มักพบว่ามีอาการร้อนในเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน และโดยปกติแล้ว อาการร้อนในที่เกิดขึ้นในบริเวณลิ้นหรือกระพุ้งแก้มนั้นก็จะหายไปเองได้ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

แต่ในบางคนอาจได้รับปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการร้อนในเรื้อรังต่อได้ เช่น การนอนดึกบ่อย ๆ ความเครียด สูบบุหรี่ จนทำให้แผลร้อนในลุกลามอักเสบ ติดเชื้อและมีอาการบวมนูนขึ้นได้ในที่สุด

  • ปัญหาสุขภาพภายในช่องปากหากผู้ป่วยมีอาการฟันผุเรื้อรัง หรือเกิดการระคายเคืองจากฟันที่มีลักษณะแหลมคม โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาฟันแตก ฟันบิ่นหรือขอบฟันคมก็อาจทำให้เกิดการบาดเนื้อเยื่อภายในช่องปากได้
  • มีพฤติกรรมการกินในแบบผิด ๆการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดอยู่บ่อย ๆ มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวบริเวณกระพุ้งแก้มขึ้นได้

เช่นเดียวกันหากได้รับความร้อนจากควันบุหรี่ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ก็ย่อมส่งผลกระทบให้เกิดการระคายเคืองดังกล่าว หากยังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจจะทำให้เนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งได้

  • โรคเบาหวานเพราะผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการติดเชื้อง่ายและเป็นแผลง่ายอยู่แล้ว อีกทั้งอาการแผลภายในช่องปากก็มักพบในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานค่อนข้างบ่อย เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการปากแห้ง ลิ้นอักเสบ ติดเชื้อราภายในช่องปาก หากจัดฟันหรือใส่ฟันปลอมก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการมีแผลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

กระพุ้งแก้มเปื่อย ต้องรักษายังไง

ปัจจัยเสี่ยงแผลร้อนในไม่หายสักที เป็นเหตุให้เกิดกระพุ้งแก้มเปื่อย

  • กระพุ้งแก้ม ลิ้น เสียดสีกับเหล็กดัดฟันหรือฟันปลอมบ่อยครั้ง
  • นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • กัดริมฝีปากหรือลิ้นของตนเองขณะเคี้ยวอาหาร
  • ขาดวิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินบีและธาตุเหล็ก
  • เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดวิตามินและเกลือแร่
    มีประวัติคนในครอบครัวเป็นแผลร้อนใน
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ และความเครียด
  • แพ้สารบางชนิดในยาสีฟันหรือมีแผลจากการแปรงฟัน

วิธีรักษาแผลในปาก เพื่อไม่ให้เกิดกระพุ้งแก้มเปื่อย

  • ล้างปากโดยใช้น้ำเกลือและเบกกิ้งโซดา หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการปวดและบวม
  • ใช้เบกกิ้งโซดาทาบริเวณแผลในปาก
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณที่เป็นแผลในปาก
  • รับประทานอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิค วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • แปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟอง โดยต้องไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียมลอริลซัลเฟต
  • ใช้สมุนไพรบำบัดและวิธีการรักษาทางธรรมชาติ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ เอ็กไคนาเชีย มดยอบ และรากชะเอม เป็นต้น โดยศึกษาวิธีการ ปริมาณ และความปลอดภัยให้ดีก่อนเสมอ
  • ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยควรรับประทานอาหารอ่อนและอาหารที่มีสารโภชนาการครบถ้วน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือมีรสเค็ม รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ อาหารและเครื่องดื่มที่มีกรดมาก และไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • ใช้หลอดเมื่อต้องดื่มน้ำเย็น

บทสรุป

กระพุ้งแก้มเปื่อย เป็นโรคที่เกิดจากการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากไม่ดี และการมีแผลในช่องปาก โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม เพราะหากดูแลไม่ดีหรือปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการติดเชื้อที่กระพุ้งแก้มทำให้กระพุ้งแก้มเปื่อยได้