เคล็ดลับการรักษา กระพุ้งแก้มบวม มีขั้นตอนอย่างไร

กระพุ้งแก้มบวม

กระพุ้งแก้มบวม  เป็นปัญหาสุขภาพทางช่องมากที่มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา มีอาการที่รุนแรงถึงขั้นกระพุ้งแก้มบวม มีอาการอักเสบ และทำท่าว่าจะไม่ยุบตัวลงง่าย ๆ จนอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดอาจเป็นอันตรายได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้น ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน หากล่าช้าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

มีแผลในปาก การมีแผลในปากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และแม้แต่การเผลอกัดกระพุ้งแก้มจนกลายเป็นแผลก็เช่นเดียวกัน หากมีแผลแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังเป็นเวลานาน เพราะอาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อและอักเสบบวมได้

สาเหตุการติดเชื้อที่กระพุ้งแก้ม

  1. เป็นร้อนใน แผลร้อนในมักเริ่มจากการมีแผลหรือเป็นตุ่มแดงเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นตรงบริเวณริมฝีปากส่วนใน กระพุ้งแก้มหรือบริเวณลิ้น จากนั้นก็จะกลายเป็นสีขาว ๆ มีขอบสีแดงนูนบวมออกมา ซึ่งจะเป็นแผลที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๆ 3 มม. และหากแผลร้อนในเกิดการเรื้อรังก็ย่อมติดเชื้อและอักเสบได้ ที่สำคัญยังมีอาการเจ็บแสบหรือปวดอย่างมากอีกด้วย
  2. ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับสาว ๆ ก่อนที่จะมีประจำเดือนมาหรือผู้หญิงตั้งครรภ์ก็มักพบว่ามีอาการร้อนในเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน และโดยปกติแล้ว อาการร้อนในที่เกิดขึ้นในบริเวณลิ้นหรือกระพุ้งแก้มนั้นก็จะหายไปเองได้ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่ในบางคนอาจได้รับปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการร้อนในเรื้อรังต่อได้ เช่น การนอนดึกบ่อย ๆ ความเครียด สูบบุหรี่ จนทำให้แผลร้อนในลุกลามอักเสบ ติดเชื้อและมีอาการบวมนูนขึ้นได้ในที่สุด
  3. ปัญหาสุขภาพภายในช่องปาก หากผู้ป่วยมีอาการฟันผุเรื้อรัง หรือเกิดการระคายเคืองจากฟันที่มีลักษณะแหลมคม โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาฟันแตก ฟันบิ่นหรือขอบฟันคมก็อาจทำให้เกิดการบาดเนื้อเยื่อภายในช่องปากได้ จนทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังเป็นเวลานานและแผลนั้นก็จะส่งผลทำให้กลายมาเป็นเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะบวมเป่งขึ้นได้ในที่สุด
  4. มีพฤติกรรมการกินในแบบผิด ๆ การกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดอยู่บ่อยๆ มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวบริเวณกระพุ้งแก้มขึ้นได้ และเช่นเดียวกันหากได้รับความร้อนจากควันบุหรี่ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ก็ย่อมส่งผลกระทบให้เกิดการระคายเคืองดังกล่าว หากยังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจจะทำให้เนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งได้ด้วย

กระพุ้งแก้มบวม ต้องรักษายังไง

ดูแลบรรเทาอาการ

  1. แปรงฟันให้สะอาดสม่ำเสมออย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ตามร่องฟันด้วย
  2. ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
  3. ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณมาก น้ำเปล่าจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งจะช่วยฆ่าแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นสาเหตุของอาการ
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่
  5. ใช้แผ่นประคบร้อนวางบนใบหน้าบริเวณที่เหงือกบวมและมีอาการปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการบวม
  6. หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวด บวมมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ค่ะ เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

เคล็ดลับจบปัญหากระพุ้งแก้มบวม

  1. หลีกเลี่ยงการทานของแข็ง เช่น อาหารประเภททอด เพราะอาจทิ่มแทงเยื่อบุช่องปากทำให้อักเสบมากขึ้นได้
  2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารเผ็ดร้อน เพื่อป้องกันแผลในช่องปากอักเสบเพิ่มขึ้น
  3. ควรใช้น้ำเกลือบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาด
  4. ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  5. ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี และซีสูง
  6. กรณีที่มีอาการปวด ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ หรือดื่มน้ำเย็น ๆ
  7. หมั่นทายาบริเวณที่เป็นแผล เพื่อให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น

วิธีป้องกันและปฏิบัติตน

การดูแลสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ ๕ หมู่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่ การใช้ยาเส้นยาสูบ หมาก น้ำยาบ้วนปาก ต่าง ๆ มีผลต่อสุขภาพที่ดีของเนื้อเยื่อในช่องปากร่วมกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอไม่ให้มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ โดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน ถ้าใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ต้องล้างทำความสะอาดฟันเทียมและถอดแช่น้ำไว้โดยไม่ใส่ฟันช่วงเวลานอนหลับ เหล่านี้จะช่วยให้เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากมีความแข็งแรง ลดโอกาสเกิดความรุนแรงหรือความผิดปกติดังที่กล่าวมาแล้ว

เมื่อท่านรู้สึกมีความผิดปกติในช่องปาก มีอาการเจ็บปวดหรือแสบร้อน มีแผลเรื้อรังในช่องปาก แนะนำให้ท่านไปพบทันตแพทย์หรือทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก เพื่อตรวจดูความผิดปกตินั้น และรับการรักษาที่เหมาะสมเพราะการมีแผลเรื้อรังในช่องปากอาจมีโอกาสเกิดมะเร็งช่องปากได้ ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยซื้อยามาทาเอง เพราะความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก มิได้เป็นแผลร้อนในชนิดเดียว อาจเป็นโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว