กระพุ้งแก้มบวมเกิดจาก อะไร สาเหตุของแผลในปาก ที่ทำให้แก้มบวม

กระพุ้งแก้มบวมเกิดจาก

ใครที่มีอาการปวด กระพุ้งแก้มบวมเกิดจากเหงือกบวม อาจจะเกิดจากอาการระคายเคือง บวมแดง อักเสบที่เหงือก ซึ่งอาจเกิดได้จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่รักษาสุขภาพฟันให้ดี ทำให้มีคราบพลัคจากแบคทีเรียและเศษอาหารก่อตัวขึ้นปกคลุมเนื้อฟัน เมื่อคราบก่อตัวเป็นเวลานานจะกลายเป็นหินปูนหนาที่ไม่สามารถขจัดออกไปได้ด้วยการแปรงฟันเพียงอย่างเดียว คราบที่สะสมเหล่านี้อาจทำให้เหงือกอักเสบและมีอาการบวมได้  นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เชื้อรา หรือเชื้อไวรัสบางชนิดได้

สาเหตุของแผลในปาก ที่ทำให้กระพุ้งแก้มบวม

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดแผลในปากได้อย่างแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ ดังนี้

  • การระคายเคืองในช่องปากแผลในปากนั้นอาจเกิดจากการระคายเคืองในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันแรงเกินไป การเสียดสีกับลวดจัดฟัน แผลจากอุบัติเหตุ แผลจากทันตกรรม กัดปากหรือกระพุ้งแก้ม การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่ผสมสารเพิ่มฟอง และอาการไวต่ออาหารบางชนิด อย่างถั่ว ไข่ ช็อกโกแลต กาแฟ หรืออาหารรสจัดและอาหารที่มีกรด
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์อาจส่งผลให้เกิดแผลในปากได้ เช่น การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็ก สังกะสี กรดโฟลิค วิตามินบี 6 และ 12 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในช่วงรอบเดือน พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
  • เชื้อโรคในช่องปากเชื้อโรคในช่องปากและโรคจากการติดเชื้ออาจส่งผลให้เกิดแผลในปากได้ หรืออาจเกิดจากการแพ้เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราภายในช่องปาก นอกจากนี้ การละเลยการดูแลช่องปากก็อาจเป็นสาเหตุของแผลในช่องปากได้
  • เกิดจากโรคและสุขภาวะแผลในปากอาจเป็นสัญญาณหรืออาการของโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคเซลิแอค(Celiac disease) หรือโรคแพ้กลูเตน โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคเบเซ็ท (Behcet’s disease) หรือโรคหลอดเลือดอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่อง โรคมะเร็งช่องปาก เป็นต้น

อาการของแผลในปาก กระพุ้งแก้มบวม

อาการของแผลในปาก กระพุ้งแก้มบวม

แผลในปากอาจเกิดขึ้นเพียงจุดเดียวหรือหลายจุดพร้อมกันได้จะรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการแปรงฟันและการเคี้ยวอาหาร โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารรสจัดหรือของร้อน

ลักษณะอาการของแผล

  • แผลขนาดเล็ก แผลในปากขนาดเล็กเป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยแผลจะมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีขนาดเล็ก สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
  • แผลขนาดใหญ่ แผลในปากขนาดใหญ่มักพบได้น้อย มีลักษณะเป็นวงกลมและวงรีขนาดใหญ่และลึกกว่าแผลขนาดเล็ก ขอบแผลชัดแต่เมื่อแผลมีขนาดใหญ่มากขอบของแผลอาจมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บมากโดยอาจใช้เวลาราว 6 สัปดาห์ในการรักษาและอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้

เบื้องต้นสามารถดูแลบรรเทาอาการได้ดังนี้

  • แปรงฟันให้สะอาดสม่ำเสมออย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ตามร่องฟันด้วย
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณมาก น้ำเปล่าจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งจะช่วยฆ่าแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นสาเหตุของอาการ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่
  • ใช้แผ่นประคบร้อนวางบนใบหน้าบริเวณที่เหงือกบวมและมีอาการปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการบวม
  • หลีกเลี่ยงการทานของแข็ง เช่น อาหารประเภททอด เพราะอาจทิ่มแทงเยื่อบุช่องปากทำให้อักเสบมากขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารเผ็ดร้อน เพื่อป้องกันแผลในช่องปากอักเสบเพิ่มขึ้น
  • ควรใช้น้ำเกลือบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อรักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้สะอาด
  • ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี และซีสูง
  • กรณีที่มีอาการปวด ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ หรือดื่มน้ำเย็น ๆ
  • หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวด บวมมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

ภาวะแทรกซ้อนของแผลในปาก แผลกระพุ้งแก้ม ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบื่ออาหาร เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) การติดเชื้อในช่องปาก และโรคมะเร็งช่องปาก เป็นต้น นอกจากนี้ การสัมผัสกับแผลในปากอาจเป็นการกระจายเชื้อของโรคติดต่อ  ดังนั้นเมื่อท่านดูแลรักษาเองในเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รับไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันท่วงที